13/5/53

การสร้างสัมพันธภาพ



ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
(Interpersonal Relationship Theory)
ผู้เริ่มทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล คือ Harry Sullivan (1892-1949) Sullivan เริ่มต้นศึกษาเรื่องจิตวิเคราะห์และพัฒนาต่อเป็น Interpersonal Theory โดยมีแนวคิดที่ต่างจาก Freud ตรงที่ Sullivan เน้นว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการที่บุคคลมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในสังคม Sullivan กล่าวว่า มนุษย์เป็นผลผลิตของการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการของบุคคลและบอกทิศทางของการเจริญเติบโต Sullivan เชื่อว่า ประสบการณ์ชีวิตในวัยต้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพจิตของบุคคลในวัยหลังของชีวิต ประสบการณ์ที่สำคัญก็คือ ความวิตกกังวล ซึ่งได้รับจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

ลักษณะของทฤษฎี
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเชื่อว่า บุคคลถูกกระตุ้นเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2 ประการ คือ
1. เป้าหมายเพื่อไปสู่ความพึงพอใจ (satisfactions) ซึ่งเน้นที่ความต้องการทางสรีรวิทยา เช่น ความหิว การนอนหลับพักผ่อน ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2. เป้าหมายเพื่อไปสู่ความมั่นคง (security) เป็นความต้องการเพื่อความคงอยู่อย่างมีความสุข ต้องการการยอมรับในสังคม ซึ่งเกิดจากการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ความต้องการทั้ง 2 ด้านนี้ มีความสัมพันธ์กัน ถ้าบุคคลได้รับตอบสนองอย่างเพียงพอทั้ง 2 ด้าน บุคคลก็จะไม่เกิดความวิตกกังวล

แนวคิดหลัก
แนวคิดหลักของ Sullivan (ใน Varcarolis, 1998 : 43) เน้นความวิตกกังวลและระบบตน (Anxiety and the Self-System) โดยกล่าวว่า
ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดจากความรู้สึกไม่ได้รับความมั่นคงปลอดภัย และความพึงพอใจทางสรีรวิทยา ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล ซึ่งเกิดและแสดงออกได้ดังนี้
ประการที่ 1 ความวิตกกังวลที่เริ่มต้นมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เกิดจากความวิตกกังวลของมารดาถ่ายทอดไปยังบุตร
ประการที่ 2 ความวิตกกังวลสามารถอธิบายและสังเกตได้ บุคคลที่อยู่ในภาวะวิตกกังวล สามารถบอกได้ว่าเขารู้สึกอย่างไรและแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร
ประการที่ 3 แต่ละคนจะพยายามดิ้นรนเพื่อขจัดความวิตกกังวล เช่น ในเด็กจะพยายามเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงความวิตกกังวลที่เกิดจากการถูกลงโทษ และแสวงหาความมั่นคงโดยการยินยอมกระทำตามความปรารถนาของบิดามารดา
Sullivan อธิบายว่า บุคคลพยายามลดความวิตกกังวลและเพิ่มความมั่นคงให้กับตนเอง Sullivan พยายามเน้นถึงพฤติกรรมที่สังเกตได้ในขณะที่ Freud เน้นกลไกทางจิต (defense mechanism) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ สึกในจิตไร้สำนึก

การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสม เพราะในกระบวนการสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยนี้ พยาบาลจะต้องใช้ตนเองเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยเกิดการหยั่งรู้ เกี่ยวกับปัญหาของตนเอง และสามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่เกิดการเจ็บป่วยทางจิตเวชเนื่องจากสัมพันธภาพระหว่างตนเอง และบุคคลอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลภายในครอบครัวไม่ดีมาก่อน การที่ผู้ป่วยจะกลับไปสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลต่าง ๆ ในสังคมได้จะต้องมีการเรียนรู้วิธีที่จะสร้างสัมพันธภาพได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะจากบุคคลในทีมสุขภาพจิต

สัมพันธภาพ (Relationship) หมายถึง กระบวนการนำสัมพันธภาพที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำความรู้จักกัน ติดต่อสัมพันธ์สร้างความคุ้นเคยสนิทสนมกัน บุคคลที่สัมพันธ์ภาพกันจะได้รับผลกระทบจากกันและกัน (ทัศนา บุญทอง, 2544)
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย (Therapeutic nurse client relationship) เป็นกระบวนการในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เข้าใจตนเอง มีการพัฒนาทางอารมณ์และวุฒิภาวะ สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้และเกิดการเรียนรูที่จะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นอย่างเหมาะสม
โดยทั่วไปแล้วสัมพันธภาพมีลักษณะหลายรูปแบบ เช่น ระหว่างสามี-ภรรยา, พ่อ แม่ ลูก, เพื่อนฯลฯ แต่อาจสรุปลักษณะสำคัญของสัมพันธภาพได้ 2 ประเภทคือ สัมพันธภาพทางสังคมและสัมพันธภาพทางวิชาชีพ ดังสามารถจำแนกลักษณะแตกต่างของสัมพันธภาพทั้ง 2 ประเภทได้ดังนี้

เป้าหมายการสร้างสัมพันธเพื่อการบำบัด
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิต มีเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิดความรู้สึก กลับมาสู่โลกแห่งความจริง โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการพัฒนาในสิ่งต่อไปนี้คือ
1. ผู้ป่วยมีความเข้าใจ เพื่อการยอมรับและนับถือตนเอง
2. เข้าใจและยอมรับในเอกลักษณ์แห่งตน ปรับปรุงตนเองให้มีความผสมผสานในความคิด ความรู้สึกและการกระทำ
3. พัฒนาความสามารถในการเป็นตัวของตัวเอง การพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล สามารถให้ความรักและรับความรักจากผู้อื่นได้

4. พัฒนาความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนให้สำเร็จได้ในของเขตของ “ความเป็นจริง” ในชีวิตและสังคม
สำหรับผู้ที่ค้นพบและวางรากฐานในเรื่องของสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยคือ Hildegard E.Pepleu โดยในทฤษฎีการเปลี่ยนบทบาทของพยาบาลจากการกระทำต่อผู้ป่วยเป็นผู้กระทำร่วมกับผู้ป่วยกล่าวคือ พยาบาลให้การยอมรับนับถือผู้ป่วยเสริมสร้างความเข้าใจในตนเองของผู้ป่วย การกระทำความกระจ่างให้กับผู้ป่วยรวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

สิ่งที่ควรตระหนักถึงในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย

ความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยของพยาบาลซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระยะเริ่มต้นของสัมพันธภาพ และอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้การสร้างสัมพันธภาพไม่บรรลุเป้าหมายของการบำบัด ได้แก่ความรู้สึกกลัวในสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. กลัวว่าผู้ป่วยจะปฏิเสธ (Fear of Rejection) ไม่มีใครต้องการถูกปฏิเสธในการมีสัมพันธภาพซึ่งความจริงแล้วสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรกเริ่มของการมีสัมพันธภาพ โดยเฉพาะในการเริ่มฝึกปฏิบัติในการให้การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลหรือพยาบาลใหม่ และความกลัวนี้อาจทำให้กลัวไม่มั่นใจในการเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพใหม่ เพราะเกรงว่าจะถูกผู้ปฏิเสธอีก
2. กลัวว่าจะถูกทำร้าย (Fear of Assault) พยาบาลที่เกิดความรู้สึกเช่นนี้เกิดจากกลัวว่าคำพูดของตนเองอาจจะทำให้ผู้ป่วยโกรธไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ส่วนหนึ่งนอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความรู้สึกและทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชว่าเป็นผู้ที่น่ากลัวมีอารมณ์และพฤติกรรมรุนแรง
3. กลัวว่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ได้ (Fear of Helplessness) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเรื่องจากขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยยังแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติทางจิตเวชอยู่ ทำให้พยาบาลรู้สึกว่าตนหมดหวังที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีอาการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น ซึ่งความรู้สึกนี้อาจจะแก้ไขได้ถ้าพยาบาลลองกลับไปทบทวนจุดมุ่งหมายของการพยาบาลและพยายามปรับปรุงให้จุดมุ่งหมายของการบำบัดเป็นสิ่งที่เป็นได้จริงบรรลุเป้าหมายได้
4. กลัวว่าจะเจ็บป่วยทางจิตเวช (Fear of Mental Illness) ในขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยพยาบาลอาจรู้สึกว่าตนเองเจ็บป่วยทางจิตใจเหมือนผู้ป่วยเหล่านี้หรือเปล่าเนื่องจากผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวชซึ่งแต่ไม่แสดงอาการทางจิตออกมามองดูเหมือนคนปกติทั่วไป พยาบาลเลยไม่แน่ใจว่าตนเองแตกต่างไปจากผู้ป่วยหรือไม่ การกลับไปทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตเวชและความตระหนักในตัวเองอาจจะช่วยให้พยาบาลลดความรู้สึกกลัวในเรื่องนี้ได้
ในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็อาจมีความรู้สึกกลัววิตกกังวลในการมีสัมพันธภาพกับพยาบาลได้ เช่น
- รู้สึกไม่ไว้วางใจที่จะเล่าเรื่องส่วนตัวกับคนแปลกหน้า
- การนำเรื่องส่วนตัวไปคุยกับบุคคลอื่น ทำให้รู้สึกสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองแสดงถึงความอ่อนแอ ล้มเหลว
- บางครั้งปัญหาหนักเกินไป ที่จะคุยกับคนอื่นได้โดยง่าย
- ไม่แน่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่ตนปฏิบัติขาดความมั่นใจ และที่สำคัญคือกระทบกระเทือนต่อชีวิตประจำวันและความเคยชิน

ความรู้สึกวิตกกังวลทั้งผู้ป่วยและพยาบาลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระยะแรกของการมีสัมพันธภาพ ซึ่งถ้าพยาบาลสามารถแก้ไขความรู้สึกดังกล่าวได้ก็จะเป็นการช่วยลดความรู้สึกวิตกกังวลของผู้ป่วย เพราะท่าทีพฤติกรรมการแสดงออกของพยาบาลในขณะสนทนาหรือให้การพยาบาลผู้ป่วย จะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกที่มีต่อตนเอง และพัฒนาปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในลักษณะของความเชื่อมั่น ไว้วางใจ ยอมรับ ฯลฯ ดังนั้นพยาบาลควรจะต้องตรวจสอบความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับตนเองและความรู้สึกที่มีต่อตนเอง และพัฒนาปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อการบำบัดรักษา นอกจากนี้ยังรวมทั้งการทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วยจิตเวช และวิธีการช่วยเหลือ ซึ่งความมั่นใจความรู้ดังกล่าวก็จะช่วยส่งเสริมให้พยาบาลมั่นใจในการพยาบาลผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น


คุณสมบัติเฉพาะของพยาบาลจิตเวชในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

การที่จะทำให้สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยดำเนินไปด้วยดีนั้น พยาบาลต้องมีคุณสมบัติเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1. มีความตระหนักในตนเอง (Awareness of Self) ในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิต พยาบาลจิตเวชจะต้องใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยไปสู่ภาวะสุขภาพ มีพฤติกรรมแสดงออกเป็นที่ยอมรับของสังคม พยาบาลจิตเวชจะต้องมีความตระหนักในตนเองตลอดเวลาว่าตนคือใคร ทั้งด้านความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ความเชื่อ ค่านิยม ข้อเด่น ข้อบกพร่อง อุดมการณ์และความคาดหวังในชีวิต ตลอดจนเจตคติต่อวิชาชีพและการช่วยเหลือ เพราะสิ่งเหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ความตระหนักตนเองของพยาบาลควรจะครอบคลุมถึง ความคิด ความรู้สึก ค่านิยมของผู้ป่วยด้วย
พยาบาลที่ขาดความตระหนักในตนเองไม่สามารถใช้ตนเองเพื่อการบำบัดด้วยเหตุผลดังนี้คือ
1.1 ขอบเขตของความรับรู้ที่มีต่อผู้ป่วย และพฤติกรรมจะผิดไปจากความเป็นจริงการรวบรวมข้อมูลและการประเมินขาดความเที่ยงตรง
1.2 การขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทำให้เสียเวลา และแก้ไขปัญหาไม่ได้
1.3 ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และปัญหาของผู้ป่วยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและผิดพลาด
1.4 วางแผนและให้การช่วยเหลือไม่เหมาะสม ไม่เป็นประโยชน์กับผู้ป่วย
2. ความสามารถในการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง (Ability to serve as Model) ในสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิตเป็นกระบวนการที่พยาบาลมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างมาก และพยาบาลจะต้องเป็นแบบอย่างของผู้ป่วย การถ่ายทอดและเลียนแบบจะเกิดขึ้นตลอดเวลาของกระบวนการสัมพันธภาพ เพราะ “ตัวพยาบาล” ทุกด้านจะเป็นสื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วย
3. ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและไม่เห็นแก่ตัว (Altruism) ในกรณีการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิตนั้นพยาบาลต้องมีคุณสมบัติ ของความสนใจ และความรักต่อเพื่อนมนุษย์เป็นพื้นฐาน และอีกส่วนหนึ่งคือความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ และพึงพอใจจากงานการให้ความช่วยเหลือนั้น ความสำคัญก็คือ ความพอดีของสองส่วนนี้ ที่พยาบาลจะต้องตระหนัก และรู้สติใน ตนเองว่าตนรู้สึกอย่างไร เพราะความรู้สึกพึงพอใจในงานอย่างเดียว โดยปราศจากความรักในเพื่อนมนุษย์นั้น อาจเป็นสื่อในการทำลายมากกว่าการสร้างสรรค์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย
4. มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบ (Sense of Ethics and Responsibility) จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพใช้เป็นแนวทางให้พยาบาลยึดถือ ปฏิบัติในขอบเขตของความถูกต้องดีงามและเป็นประโยชน์ พยาบาลจิตเวชจะต้องมีความเชื่อต่อจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และยึดมั่นในการปฏิบัติโดยความรับผิดชอบที่พึงจะมีต่อผู้ป่วย ต่อสังคม และตนเอง
นอกจากคุณสมบัติเฉพาะของพยาบาลจิตเวชในการสร้างสัมพันธภาพแล้ว ในกระบวนการของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ลักษณะเฉพาะของสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สัมพันธภาพมีผลในการบำบัดทางจิต

ลักษณะเฉพาะของสัมพันธภาพ มีดังต่อไปนี้คือ

1. การเข้ากันได้ (Rapport) พยาบาลจะต้องเข้ากันได้กับผู้ป่วยอย่างกลมกลืน ซึ่งความรู้สึกเข้ากันได้จะต้องมีตั้งแต่แรกเริ่มของสัมพันธภาพ โดยลักษณะของการเข้ากันได้มีดังต่อไปนี้ คือ
- เป็นมิตร ยิ้มแย้ม ประสานสายตากับผู้ป่วย
- ดำเนินการสนทนาอย่างเป็นกันเอง
- แสดงออกถึงความ เห็นใจ สนใจ รับฟัง และยอมฟัง
- ให้เวลากับผู้ป่วย
- สร้างความรู้สึกให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
- พยาบาลปฏิบัติกับผู้ป่วยในฐานะมนุษย์เท่าเทียมกัน
2. การสร้างความไว้วางใจ (Trust) ความไว้วางใจเป็นความรู้สึกเชื่อมั่นอย่างจริงใจที่บุคคลหนึ่งมีต่ออีกบุคคลหนึ่ง โดยไม่เคลือบแคลงว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะมีความเชื่อมั่นอยู่ภายในความรู้สึกปรารถนาดีและเชื่อถือได้ ซึ่งความไว้วางใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอต้นเสมอปลาย พยาบาลจิตเวชจะต้องมีความสม่ำเสมอและจริงใจ เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยค่อย ๆ สร้างความเชื่อถือในตัวพยาบาล แม้ว่าในระยะแรกผู้ป่วยอาจจะทดสอบ

การสร้างความไว้วางใจประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ประการคือ
ก. พยาบาลจิตเวชต้องแสดงความมั่นใจในตัวเอง ความเชื่อมั่นที่จะต้องมีความผสมผสานระหว่างความรอบรู้ในเรื่องทั่วไป ความรู้ในทางวิชาชีพ และ ความสามารถในการสดงออกอย่างกลมกลืน ซึ่งการแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในตนเองนั้น จะต้องแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติของ “ตนเอง” ไม่ใช่แสดงตามมารยาท
ข. พยาบาลจะต้องช่วยผู้ป่วยให้ผู้ป่วยได้พัฒนาความไว้วางใจต่อตนเองเพื่อ เป็นบันไดให้สามารถไว้วางใจผู้อื่นได้ ซึ่งพยาบาลจะสามารถพัฒนาความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในผู้ป่วยได้โดยแสดงออกซึ่งความนับถือผู้ป่วยการเป็นผู้ที่มีความซื่อตรงและเสมอต้นเสมอปลายจะช่วยได้มาก เพราะหากผู้ป่วยเกิดความมั่นใจแล้ว ผู้ป่วยจะเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองและลดความวิตกกังวล
3. ความรู้สึกในแง่ดีและการยอมรับ (Uncondition Positive Regard and Acceptance) พยาบาลต้องมีความเต็มใจที่จะเข้าใกล้ผู้ป่วยพยายามมองในแง่ดี แม้ว่าผู้ป่วยจะมีกิริยาหยาบคายไม่น่าเป็นมิตร โดยมีความเชื่อในคุณค่า ศักดิ์ศรี และความสำคัญ ของความเป็นบุคคล ไม่ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกจะเป็นลักษณะใดก็ตาม
การยอมรับเป็นความเข้าใจแต่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือต้องยอมตาม การยอมรับเป็นการให้ความสำคัญของสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นในการคิด ค่านิยม และมาตรฐานการปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับเรา และไม่ตำหนิหรือเคี่ยวเข็นให้ผู้ป่วยเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเพราะเราไม่ชอบใจ หากแต่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต้องอยู่บนความจริงของสังคม ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นที่หน้าเบื่อหน่าย ขณะสนทนากับพยาบาล เมื่อผู้ป่วย รู้สึก ว่าตนได้รับการยอมรับก็จะกล้าเปิดเผยสิ่งที่อยู่ในใจตนออกมาได้ โดยไม่กลัวเสียหน้าหรือละอาย ผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลาย
4. การเข้าถึงความรู้สึก (Empathy) การเข้าถึงความรู้สึกของผู้ป่วยเป็นความสามารถที่พยาบาลตระหนักถึงความรู้สึกจริง ๆ ตระหนักในความโกรธ ความกลัว ความสับสน เหมือนกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่ต้องแยกตนเองไว้ต่างหาก กล่าวคือไม่ได้เกิดความรู้สึกกลัว โกรธ หรือสับสนไปด้วย ซึ่งความเข้าใจตนเองอย่างดีจะช่วยให้เกิดความตระหนักในความเป็นผู้อื่นได้อย่างแท้จริง พยาบาลสามารถจะยืนยันกับผู้ป่วยได้ว่าพยาบาลเข้าใจในความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างยิ่ง โดยใช้คำพูดเช่น “คุณรู้สึกว่า...” “คุณรู้สึกเหมือน...” เป็นต้น
5. การตั้งเป้าหมายชัดเจน(Goal Formulation) สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิตจะต้องมีการตั้งเป้าหมาย และปฏิบัติให้บรรลุตามที่ตั้งไว้ เช่น เป้าหมาย สร้างความรู้สึกคุณค่าในตนเอง...ลดความวิตกกังวล...พัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสาร การมีอารมณ์ขัน (Humor) การมีอารมณ์ขันบ้างในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดจะช่วยลดความตึงเครียด ความวิตกกังวล บางโอกาสอาจจะถึงบุคคลออกจากภาวะเศร้า ร้องไห้ การรู้สึกผิดหรือบาปได้ และช่วยขจัดความรู้สึกเจ็บป่วยและบีบคั้นได้ในหลายโอกาสอีกด้วย การแสดงอารมณ์ขันไม่จำเป็นต้องหมายถึงการพูดติดตลก หรือพูดล้อเลียนไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเสียหน้า อารมณ์ขันอาจแสดงออกโดยทางสีหน้า หรือเพียงแต่ยิ้มก็ได้

ขั้นตอนในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (Phase of the nurse-client relationship)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดมีลักษณะเป็นขั้นตอนต่อเนื่อง แบ่งได้ออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้คือ
1. ขั้นก่อนมีปฏิสัมพันธ์ (Preinteraction Phase) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนก่อนที่พยาบาลจะพบกับผู้ป่วยซึ่งในขั้นตอนนี้การเตรียมตัวของพยาบาลที่ดีจะช่วยลดปัญหาในขั้นตอนต่อมาได้ โดยพยาบาลควรจะมีการเตรียมตัวดังต่อไปนี้คือ
- ประเมินตนเอง (Self-Assessment) การประเมินตนเองของพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็นเพราะในการให้การพยาบาลผู้ป่วยความคิดความรู้สึกของพยาบาลที่จะสื่อออกไปทั้งทางคำพูดและท่าทางในขณะที่พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย่ตลอดเวลา ถ้าพยาบาลมีอัตมโนทัศน์ที่ดีต่อตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และตระหนักในความเป็นตนเองอย่างดีสามารถที่จะใช้ความเข้าใจตนเองเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ป่วยได้
ตัวอย่างคำถามที่พยาบาลใช้ประเมินตนเอง
- ฉันจัดผู้ป่วยจิตเวชอยู่ในบุคคลอีกประเภทหนึ่ง หรือไม่
- ฉันคิดว่าตนเองเป็นคนที่สำคัญ ทำให้ฉันรู้สึกโกรธ เสียใจ เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรม
หยาบคาย ก้าวร้าว
- ฉันปกปิดปมด้อยด้วยการแสดงออกเพื่อกลบเกลื่อนว่าเหนือกว่าหรือไม่
- ฉันกลัวที่จะต้องใกล้ชิดผู้ป่วยจนแสดงออกต่อผู้ป่วยในลักษณะไม่ยินดียินร้ายเย็นชา หรือไม่
- ฉันอยากให้ตนเองเป็นคนสำคัญ โดยทำให้ผู้ป่วยพึ่งพาฉันตลอดเวลาหรือไม่
การประเมินตนเองดังกล่าวช่วยให้พยาบาลได้ตระหนักในความเป็นตนเองและจะได้ปรับเปลี่ยนเพื่อให้การสร้างสัมพันธภาพเป็นไปอย่างเหมาะสม
- เรารวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับผู้ป่วย (Gathering Necessary Data About Patient) รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย ได้แก่ ประวัติส่วนตัวต่าง ๆ และประวัติการเจ็บป่วย โดยข้อมูลที่รวบรวมควรมีลักษณะข้อมูลดิบ เพื่อนำมาประกอบการวางแผนหรือการสังเกตและวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยเพราะจะทำให้เราไม่อคติต่อผู้ป่วย มั่นใจในการวิเคราะห์พฤติกรรมด้วยตนเองตามขอบเขตของความรู้ความชำนาญที่ตนมีอยู่
- กำหนดเป้าหมายทั่วไปในการสร้างสัมพันธภาพ (Establishing Goals) เป็นการกำหนด เป้าหมายในระยะแรกไว้ได้ก่อนอย่างกว้าง ๆ เมื่อสัมพันธภาพดำเนินไปแล้ว อาจมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป้าหมายและวิธีการอาจต้องปรับปรุงในรายละเอียด เป้าหมายในระยะแรกดังต่อไปนี้
ก. เพื่อดำเนินการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยให้เป็นการบำบัดโดยพยาบาล ใช้
ตนเองเป็นสื่อในการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ป่วย
ข. เพื่อกำหนดข้อตกลงระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย ในขอบเขตและข้อจำกัดของ
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ค. เพื่อประเมินแนวคิดและความรู้สึกของผู้ป่วย ซึ่งได้จากกระบวนการปฏิสัมพันธ์
- วางแผนสำหรับการเริ่มต้นสัมพันธภาพ (Plan for First Meeting) พยาบาลนัดหมายกับ
ผู้ป่วย และวางแผนร่วมกันว่าจะเริ่มต้นเมื่อใดจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด
2. ขั้นเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพ (Introduction of Orientation Phase) เป็นระยะที่พยาบาลและผู้ป่วยทำความรู้จักกันครั้งแรก ทั้งผู้ป่วยและพยาบาลต่างเป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน เป็นขั้นตอนที่มีการตกลงร่วมกันในจุดประสงค์ และกำหนดระยะเวลาของการพบกัน ถ้าการสร้างสัมพันธภาพในขั้นต้นดำเนินไปด้วยดีก็จะทำให้ ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะดำเนินในขั้นตอนต่อไปได้
ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกิจกรรมที่พยาบาลควรปฏิบัติดังต่อไปนี้คือ
- แนะนำตัวเองว่าเป็นใคร มาจากไหน มาทำอะไรหรือมีหน้าที่อะไร เพื่อเพิ่มความรู้สึกไว้วางใจในตัวพยาบาล พร้อมกับบอกจุดประสงค์การนัดหมายและการพูดคุยสนทนา
- กำหนดข้อตกลงของสัมพันธภาพ หลังจากแนะนำตัวเองแล้ว พยาบาลต้องบอกถึงข้อตกลงของการสร้างสัมพันธภาพซึ่งก็ได้แก่ สถานที่ เวลาที่จะพบปะเพื่อสนทนา ระยะเวลาของการสนทนาแต่ละครั้ง จำนวนกี่วันต่อสัปดาห์ วันอะไรบ้าง และในระยะเวลานานเท่าใด และถ้าพยาบาลพบไม่ได้จะแจ้งมาที่ใคร ข้อตกลงเหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อป้องกันการเกิดความวิตกกังวลเมื่อต้องสิ้นสุด สัมพันธภาพ การสนทนาเกี่ยวข้อตกลงก็จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจขอบเขตของสัมพันธภาพ
- ลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากการพบกันครั้งแรกหรือในระยะของการมีสัมพันธภาพ ซึ่งความวิตกกังวลของผู้ป่วยอาจเกิดจาก พยาบาลเป็นคนแปลหน้ายังไม่ไว้วางใจ ไม่กล้าพูดคุยเรื่องส่วนตัว ส่วนพยาบาลอาจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความรู้และทักษะในการสนทนาเพื่อการบำบัด ไม่ทราบว่าจะสนทนากับผู้ป่วยได้อย่างไร ไม่แน่ใจว่าตนจะช่วยผู้ป่วยได้หรือไม่ ความวิตกกังวลของผู้ป่วยจะลดลงได้ก็ด้วยลักษณะเท่าที่พฤติกรรมของพยาบาลที่มีลักษณะน่าไว้วางใจให้การยอม รับนับถือผู้ป่วยโดยแสดงออกในลักษณะของการยกย่องนับถือผู้ป่วย รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับ ผู้ป่วย รักษาความลับของผู้ป่วย และปฏิบัติตามตารางสม่ำเสมอ เป็นต้น ส่วนตัวพยาบาลเองนั้นสามารถลดความวิตกกังวลได้โดย ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารเพื่อการบำบัด
- ประเมินความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ป่วย ในระยะเริ่มต้นของสัมพันธภาพนี้ พยาบาลควรมีการประเมินอย่างคร่าว ๆ เกี่ยวกับ ความคิด ความรู้สึกต่อการสร้างสัมพันธภาพ ต่อตนเองต่อความเจ็บป่วย ซึ่งถ้าพยาบาลสามารถประเมินใกล้ความจริงเท่าใดก็จะสามารถวางแผนการพยาบาลได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยอย่างแท้จริง ตัวอย่างคำถามที่นำมาใช้ประเมิน ได้แก่
“อะไรที่เป็นสาเหตุที่จะทำให้คุณรู้สึกเบื่อ”
“คุณคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุของความยุ่งยาก ความลำบากในชีวิตคุณ”
“คุณคิดว่าอะไรจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่จะช่วยให้คุณผ่านความยุ่งยากนี้ไปได้”
“คุณคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณไม่ได้รับการช่วยเหลือในการแก้ปัญหานี้”
- สนองความต้องการเฉพาะหน้าของผู้ป่วยก่อน เช่น หิวข้าว ปวดศีรษะ เอะอะวุ่นวาย
-วางแผนการให้การช่วยเหลือผู้ป่วย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาวินิจฉัยปัญหาตามข้อมูล และปรับเป้าหมายกว้าง ๆ ให้ละเอียดขึ้น โดยร่วมงานแผนกับผู้ป่วยเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยจะได้รับ เมื่อสิ้นสุดการสนทนาแต่ละครั้ง พยาบาลต้องกล่าวย้ำถึงการนัดหมายครั้งต่อไป

ปัญหาที่พบในระยะแรกของการสร้างสัมพันธภาพ เช่น
1. ผู้ป่วยทดสอบ ลองใจพยาบาลดูว่ามีความจริงใจในการช่วยเหลือเขาแค่ไหน โดยการมาสายไม่มาตามนัด
2. การต่อต้าน ผู้ป่วยไม่ยอมมีสัมพันธภาพกับพยาบาลโดยบอกกับพยาบาลโดยตรงว่าไม่อยากพบ ให้พยาบาลไปคุยกับคนอื่น ตอบคำถามแบบขอไปที ผู้ป่วยรักษาระดับสัมพันธภาพให้อยู่ในระยะผิวเป็นเวลานาน
3. ความวิตกกังวลทั้งพยาบาลและผู้ป่วย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด
ปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะของสัมพันธภาพต้องอาศัย ความตั้งใจจริงในการช่วยเหลือผู้ป่วย ความอดทน สม่ำเสมอพร้อมทั้งการปรับปรุงทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการสนทนาอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษาด้วยตนเองและปรึกษาพยาบาลที่มีประสบการณ์ หรืออาจารย์นิเทศเป็นต้น
3. ขั้นดำเนินการแก้ไขปัญหา (Working Phase) เมื่อผู้ป่วยเริ่มไว้วางใจพยาบาลสัมพันธภาพดำเนินไปด้วยดี ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
- มาพบพยาบาลตามนัดหมาย
- พูดถึงปัญหาของตนมากขึ้น โดยพยาบาลไม่ต้องซักถาม
- ไม่มีการทดสอบพยาบาล
- แจ้งให้พยาบาลทราบถ้ามีเหตุขัดข้องมาพบไม่ได้ ฯลฯ
ถ้าสัมพันธภาพเข้าสู่ระยะนี้แสดงว่าผู้ป่วยไว้วางใจเรามากขึ้น ความวิตกกังวลลดลงสิ่งที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ คือ
- ค้นหาสาเหตุของปัญหาของผู้ป่วย พยาบาลใช้เทคนิคการสนทนาที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายปัญหาความวิตกกังวลออกมาให้มากที่สุด ซึ่งทักษะที่สำคัญในตอนนี้ของพยาบาลคือ การฟัง พยาบาลต้องฟังอย่างอย่างตั้งใจและติดตามเรื่องราวของผู้ป่วยตลอด เพื่อจับประเด็นให้ได้ จำปัญหาของผู้ป่วยอยู่ตรงไหน การฟังอย่างเข้าใจและเห็นใจในปัญหาของผู้ป่วยได้มากกว่าการรับแนะนำ ขัดแย้ง หรือสั่งสอนเพราะบางครั้ง เมื่อผู้ป่วยได้ระบายปัญหาออกมาแล้วผู้ป่วยอาจจะมองเห็นแนวทางแก้ไขปัญหาของเขาเองนอกจากการฟังแล้ว พยาบาลต้องซักถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ เพื่อผลประโยชน์ของผู้ป่วย ไม่ใช่ถามเพราะพยาบาลอยากรู้ พยาบาลต้องระวังในการถามให้มาก
- ช่วยพัฒนาการเข้าใจตนเองและการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย หลังจากผู้ป่วยได้ระบายปัญหาออกมาแล้ว พยาบาลใช้เทคนิคการสนทนาช่วยให้ผู้ป่วยได้วิเคราะห์พฤติกรรม ความคิดและการกระทำของตนเอง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าใจตนเองและเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พยาบาลอาจให้ข้อมูล และช่วยผู้ป่วยให้ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ โดยเลือกจากหลาย ๆ แนว แล้วให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจ เลือกแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตัวเขาเอง ในแนวทางที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางสร้างสรรค์และเป็นผลดีต่อภาวะสุขภาพ
- ให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจ โดยการให้เวลา ให้กำลังใจ ให้การช่วยเหลือด้วยใจจริง พยายามช่วยให้ผู้ป่วยสามารถที่จะติดต่อกับสังคมหรือใคร ๆ ได้มองตนเอง และคนอื่นในแง่ดีขึ้น แต่ต้องไม่ทำให้ผู้ป่วยพึ่งพาต่อพยาบาลมากเกินไป ต้องพยายามทำให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นในตนเองสามารถตัดสินใจและปรับ ตัวเข้ากับผู้อื่นได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะนี้
1. ความวิตกกังวลของพยาบาล เนื่องจากไม่ทราบว่าปัญหาของผู้ป่วยอยู่ตรงไหน วินิจฉัย
ปัญหาไม่ได้ พยาบาลบางคนเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยมากเกินไป บางคนกลัวที่จะต้องมี
สัมพันธภาพใกล้ชิดผู้ป่วย เมื่อสัมพันธภาพก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ
2. ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผูกพัน ต้องพึ่งพายึดพยาบาลไว้เป็นที่พึ่ง
3. พยาบาลรู้สึกว่าตนเองเป็น Hero แก้ปัญหาให้ผู้ป่วยได้ พยาบาลต้องกลับไปทบทวน
วัตถุประสงค์ใหม่
4. พยาบาลรู้สึกไม่แน่ใจเทคนิคในการสื่อสารว่าใช้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสหรือไม่
5. พยาบาลทราบปัญหาของผู้ป่วยแต่ไม่ทราบว่าจะช่วยเหลืออย่างไร จึงแสดงออกมาใน ลักษณะรูปแบบการพูดคุยผิวเผิน แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยทั้ง ๆ ที่ทราบว่าเป็น ไปไม่ได้
6. พยาบาลตัดสินใจพฤติกรรมผู้ป่วยเร็วเกินไป โดยที่ยังได้ข้อมูลไม่พร้อม
4. ขั้นสิ้นสุดสัมพันธภาพ (Terminating Phase) เมื่อสัมพันธภาพดำเนินการมาถึงขั้นที่ ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและสามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว ความต้องการในการช่วยเหลือก็ลดน้อยลง สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดก็ต้องยุติ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นอีกทำให้สัมพันธภาพต้องยุติลง ได้แก่ ผู้ป่วยกลับบ้าน ผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลย้ายตึก และการสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลเป็นต้น
ในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
- เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ดูแลตนเองทางด้านร่างกายและจิตใจได้
- ควบคุมตนเองได้มากขึ้น
- มีอารมณ์มากขึ้น
- เคารพตัวเองมากขึ้น
- สามารถเผชิญกับความคับข้องใจ วิตกกังวล ความขัดแย้งในใจ และความดุร้าย
ขั้นตอนนี้ถ้าพยาบาลเตรียมผู้ป่วยไม่ดี ผู้ป่วยอาจเกิดความวิตกกังวลจากการแยกจาก (Separate Anxiety) ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
1. Denial ไม่ยอมรับการยุติสัมพันธภาพ พยายามติดต่อกับพยาบาลต่อทางจดหมาย
โทรศัพท์ ไปเยี่ยมบ้าน พยาบาลต้องปฏิเสธอย่างสุภาพ โดยให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่า
เขาสามารถไปหาพยาบาลคนอื่น ๆ ให้ช่วยเหลือเขาได้
2. Reject ไม่ยอมรับในตัวพยาบาล แสดงออกว่าพยาบาลไม่มีความสำคัญกับเขาเลย เช่น
ไม่มาตามนัด ปฏิเสธพูดคุยกับพยาบาล
3. Depress มีอาการซึมเศร้ามากขึ้น
4. Anger and Hostility แสดงอาการก้าวร้าวทางคำพูดและท่าทาง
5. Regression มีพฤติกรรมถดถอย เพื่อว่าพยาบาลจะได้ดูแลเขาต่อไปแสดงออกโดย เจ็บ
ป่วยมากขึ้น
ปฏิกิริยาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นถ้าผู้ป่วยได้รับการเตรียมตัวล่วงหน้า ทราบถึงการยุติสัมพันธภาพ ตั้งแต่ระยะแรก และได้รับการเตือนเป็นระยะ ๆ ว่าเหลือเวลาอีกประมาณกี่วัน กี่สัปดาห์ ที่จะยุติสัมพันธภาพ โดยมากนิยม บอก 1-2 สัปดาห์ ก่อนยุติสัมพันธภาพ เพื่อดูปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างไรจะได้ให้การช่วยเหลือทันท่วงที ซึ่งการสิ้นสุดสัมพันธภาพเป็นการช่วยให้ผู้เรียนรู้ว่าสัมพันธภาพกับทุกคนจะต้องมีการยุติลงในวันใดวันหนึ่งเป็นการให้ความจริงที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย

สิ่งที่พยาบาลต้องปฏิบัติในระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ
1. เตรียมผู้ป่วยให้ยอมรับการยุติสัมพันธภาพ โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้คือ
- บอกระยะเวลาที่จะยุติสัมพันธภาพ กับผู้ป่วยล่วงหน้าเป็นระยะ ๆ
- บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีของตนเอง สร้างความเชื่อมั่นที่ว่าผู้ป่วยเข้าใจปัญหาตนเอง สามารถช่วยตนเองให้ดีขึ้นแล้ว และเรามีความมั่นใจต่อความสามารถที่ผู้ป่วยได้แสดงให้เห็นตลอดเวลาที่สัมพันธภาพดำเนินมา
- สอบถามถึงความรู้สึกของผู้ป่วยต่อการยุติสัมพันธภาพ รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับจากการสนทนา
- บอกถึงแหล่งที่ผู้ป่วยจะสามารถขอความช่วยเหลือได้
2. ประเมินผลความก้าวหน้าและความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ พยาบาลต้องอภิปรายกับผู้ป่วยถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ได้มีสัมพันธภาพร่วมกัน ปัญหาที่ได้แก้ไขแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยคิดว่าเหมาะสมที่สุดของตน
3. ประเมินพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอันเนื่องมากจากการพรากจากดังกล่าวข้างต้น

ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิตและวิธีการแก้ไข
ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิต ปรากฏได้บ่อยและโดยทั่วไปจะเป็นผลลบมาจากประสบการณ์และความวิตกกังวลของพยาบาลเองด้วยส่วนหนึ่ง กับอีกส่วนหนึ่งมาจากฝ่ายผู้ป่วยซึ่งพบได้บ่อยในเรื่องต่อไปนี้คือ ผู้ป่วยไม่มาตามนัดปัญหาการจดบันทึกการสนทนา ผิดสัญญา ไม่อยากระบายความรู้สึก การตอบโต้ที่เป็นไปโดยปราศจากความหมาย ในทางการบำบัดซึ่งพยาบาลจำเป็นต้องตระหนักล่วงหน้าและหลีกเลี่ยง หรือหากพบปัญหาในกระบวนการของสัมพันธภาพ พยาบาลจะได้หาทางออกได้


ปัญหาอย่างต่อไปนี้เป็นปัญหาและทางออกซึ่งพยาบาลอาจจะทดลองแก้ไขปัญหาต่อไป
(ที่มา ทัศนา บุญทอง เอกสารการสอนชุดวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ,2544)

ปัญหา
แนวทางแก้ไข
1. ผู้ป่วยไม่มาตามนัด
- ตามหาผู้ป่วย
- นัดหมายใหม่ อาจต้องจัดเวลาและสถานที่ใหม่
- เตือนผู้ป่วยล่วงหน้าก่อนถึงวันนัด
- จดวัน เวลานัดให้ผู้ป่วยในใบนัด
2. ผู้ป่วยมาพบตามนัด แต่มาช้าเป็นประจำ
- พิจารณาว่าผู้ป่วยรู้จักเวลาหรือไม่ (ผู้ป่วยที่มีอาการมากบางรายอาจไม่รู้จักเวลาและสถานที่
- คุยเตือนกับผู้ป่วยเรื่องเวลานัดที่เคยตกลงไว้ว่าเริ่มเวลาเท่าใดและเลิกเวลาเท่าใด
3. พยาบาลเองเป็นฝ่ายมาช้ากว่านัด
-ให้แจ้งผู้ป่วยโดยตรงหรือขอเปลี่ยนเวลานัด
ให้ บุคคลส่งข่าวให้ผู้ป่วยทราบ หรืออาจเขียนโน้ตบอก
- ขอโทษ และให้เหตุผล
- นัดหมายใหม่ให้เหมาะสม
4. ผู้ป่วยขอให้การสนทนาจบเร็ว ๆ กว่าเวลาที่กำหนดไว้ หรือขอเปลี่ยนกำหนดนัด
- สำรวจความต้องการที่ขอเช่นนั้น
- ปฐมนิเทศใหม่ถึงเรื่องเวลากำหนดการนัดตามที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนแรก
- กำหนดการนัดหมายใหม่ตามความเหมาะสมของทั้งสองฝ่าย
5. ผู้ป่วยลุกออกไปจากการสนทนาอย่างกระทันหัน
- ถามว่า “คุณกำลังจะไปไหน”
- และหากว่าผู้ป่วยกำลังเดินออกไป พยาบาลบอกผู้ป่วยต่อไปเลยว่า “ดิฉันจะนั่งรอคุณอยู่ที่นี่จนกระทั่งเวลา...” (ตามกำหนดของเวลานัดในครั้งนั้น)
6. ผู้ป่วยปฏิเสธไม่ยอมให้พยาบาลจดบันทึกข้อมูลการสนทนา
- พยาบาลนั่งรอในห้องนั้น
- รอการกลับของผู้ป่วยในห้องอย่างสงบ
- พยาบาลต้องฟังการปฏิเสธอย่างสงบ
- อธิบายความจำเป็นของการจดบันทึก และเหตุผลที่ต้องจด
- คุยย้ำเรื่องการเก็บข้อมูลทุกอย่างเป็นความลับข้อมูลที่จดจะมีผู้รับทราบเฉพาะผู้เกี่ยวกับการดูแลตัวผู้ป่วยเท่านั้น
- ข้อมูลสำคัญยังคงต้องบันทึกต่อไป
- หากหลังจากอธิบายและสนทนาร่วมกันแล้ว
ผู้ป่วยยังไม่ยินยอมให้บันทึก พยาบาลต้องงดการบันทึก แต่ให้สรุปการสนทนาทันทีเมือยุติการสนทนาแต่ละครั้ง
7. ผู้ป่วยต้องการอ่านข้อความที่บันทึก
- อนุญาตให้อ่านได้ (ผู้ป่วยมีสิทธิ์จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาเอง)
8.ผู้ป่วยตั้งคำถามว่าจะมีใครอ่านบันทึกที่พยาบาลบันทึกเกี่ยวกับตนบ้าง
- อธิบายให้ชัดเจนว่าจะมีใครบ้างที่จะอ่านข้อมูลเหล่านี้ พยาบาลให้ผู้ป่วยได้ทราบว่าข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะมีผู้รับทราบบ้าง แต่ก็จะเป็นบุคคลในทีมสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลโดยตรงเท่านั้นและเป็นความลับสำหรับบุคคลอื่น ๆ
- อภิปรายย้ำเรื่องข้อตกลงที่ได้เคยสนทนากัน
มาก่อน
9. บุคลากรอื่น ๆ ต้องการจะอ่านข้อมูลโดยละเอียดที่บันทึกไว้
- อธิบายให้ทราบถึงผลการคืบหน้าของผู้ป่วย
- ปฏิเสธการให้ดูข้อมูลรายละเอียดที่ได้บันทึกไว้โดยละม่อม
- อธิบายให้บุคคลเหล่านั้นได้ทราบถึงการที่ได้สัญญากับผู้ป่วยเรื่องจะต้องเก็บไว้เป็นความลับ
10. ผู้ป่วยให้พยาบาลนำข้อมูลที่พยาบาลบันทึกเพื่อนำไปให้แพทย์ประจำตัวหรือนำไปให้เจ้าหน้าที่คนอื่น
- อภิปรายร่วมกับผู้ป่วยเพื่อสืบค้นเหตุผลในการ กระทำเช่นนั้น
- สนับสนุนให้ผู้ป่วยอธิบายหรือพูดกับแพทย์
11. พยาบาลใหม่เรียกผู้ป่วยโดยเรียกชื่อเฉย ๆ
(ไม่มีสรรพนามนำหน้าเช่น คุณ... หรือ นาย...)
- อภิปรายกับพยาบาลเรื่องความแตกต่างระหว่าง สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
- อธิบายเรื่องสิ่งที่ควรปฏิบัติในสถาบันบริการ และข้อความปฏิบัติตามที่ได้ปฏิบัติกันมา
- อภิปรายเหตุและผลที่กระทำเช่นนั้น
- อภิปรายผลกระทบต่อความรู้สึกมีคุณค่า และการยอมรับนับถือต่อผู้ป่วย
12. ผู้ป่วยซักไซ้เรื่องส่วนตัวของพยาบาล
- ตอบคำถามอย่างสั้น ๆ เฉพาะที่เป็นความจริง และเป็นข้อมูลทั่วไป
- สนทนาเพื่อความสืบค้นในความต้องการซักไซ้ในข้อมูลส่วนตัวของพยาบาล
- เปลี่ยนเรื่องสนทนาเพื่อนำเข้าสู่เรื่องที่สัมพันธ์กับเรื่องของผู้ป่วย
13. ระยะเวลาของการสนทนาชะงักกลางคันเพราะผู้ป่วยอื่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นเข้ามาโดยไม่ทราบล่วงหน้า
- บอกกับผู้ที่เข้ามากลางคันว่ากำลังอยู่ในระยะของการสนทนาเพื่อการบำบัด และไม่สามารถพูดคุยด้วยได้ให้มาพบใหม่
- พบกับเจ้าหน้าที่และอภิปรายถึงผลดีผลเสียของการกระทำเช่นนั้น
- แขวนป้าย “กรุณาอย่ารบกวน” หรือ ป้าย “กำลังสนทนากับผู้ป่วย” ไว้หน้าห้องปัญหา
แนวทางแก้ไข
14. ผู้ป่วยไม่ต้องการพูดคุย
- นั่งเงียบ ๆ ด้วยความสงบ
- มองผู้ป่วยโดยความสนใจ และด้วยสีหน้าที่เป็นมิตร
- สังเกต กิริยา ท่าทางและการสื่อความหายที่ไม่ใช่ว่าจาจากผู้ป่วย
- ใช้คำถามทางอ้อม แต่เป็นคำถามปลายเปิดที่เปิดช่องให้ผู้ป่วยได้ตอบ(อาจพูดขึ้นเป็นระยะ ๆ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ตอบหรือพูดอะไรออกมา) เช่น
“ดูเหมือนคุณกำลังใช้ความคิด “
- กล่าวย้ำเรื่องเวลาที่เหลืออยู่ในระยะเวลานัดหมายในครั้งนี้ เช่น “เวลาของเรามีเหลืออีก 15 นาทีนะคะ”
15. ผู้ป่วยกล่าวว่า “ฉันไม่มีอะไรจะพูด” หรือ “ฉันไม่รู้”
- ลองตั้งคำถามใหม่
- นั่งฟังอย่างสงบ รอดูท่าทีผู้ป่วยด้วยความอดทน
- ลองประเมินความรู้สึกของพยาบาลเองดูเมื่อได้ฟังคำพูดในลักษณะนี้จากผู้ป่วย
- ให้มองในแง่ดี
- สืบค้นความสนใจ และปัญหาของผู้ป่วยต่อไป
- เปลี่ยนวิธีเริ่มต้นการสนทนาใหม่
16. พยาบาลตอบโต้กับผู้ป่วยในขณะสนทนาด้วยคำพูดซ้ำ ๆ(เพราะคิดไม่อะไรไม่ออก ไม่รู้จะตอบอย่างไร)
ปัญหา
- ดีแล้ว ที่ตระหนัก อย่าเพิ่งหมดกำลังใจพยายามต่อไป
- ลองหาคำตอบโต้อย่างอื่น
- เผชิญหน้ากับการถูกปฏิเสธจากผู้ป่วย
- เผชิญหน้ากับการที่ผู้ป่วยอาจโกรธเรา
- ให้ทบทวนข้อมูลที่ได้จดบันทึกไว้และวิเคราะห์โดยละเอียดเพื่อค้นหาต่อไปนี้
* การตอบโต้ที่ซ้ำ ๆ นั้น * ค้นหาประเด็นที่เรามองข้าม
* ลองฝึกหาวิธีตอบโต้ใหม่จากบันทึก
แนวทางแก้ไข
* พยายามใหม่ในการสนทนาผู้ป่วยในการ
นัดหมายคราวหน้า
- ฝึกให้ตนเองเป็นคนไวต่อการตอบโต้ที่ผิดพลาด และเรียนรู้
- ปรึกษาหัวหน้า ผู้ตรวจการ พยาบาลอาวุโสกว่า หรือ บุคลากรในทีมสุขภาพจิต
17. ผู้ป่วยบอกพยาบาลไม่ให้เข้าใกล้ หรืออาจพูดว่า “อย่ามาวุ่นกับฉัน”
- ให้ฟังอย่างสงบ
- ให้ประเมินระดับความดุร้าย (hostility) ของผู้ป่วย
- พิจารณาจากข้อมูลที่ประเมินได้ และปฏิบัติตามที่เห็นว่าเหมาะสม อาจกระทำได้ดังนี้
* ไปจากผู้ป่วย โดยสัญญากับผู้ป่วยจะมาพบใหม่
* รอผู้ป่วยโดยสังเกต และสืบค้นความรู้สึกของผู้ป่วยที่มีอยู่
18. คำถามของพยาบาลทำให้ผู้ป่วยไม่พอใจ หรือหงุดหงิด
- ไม่เป็นไร ไม่ต้องตกใจ แสดงว่าคำถามจะต้องไปกระทบความรู้สึกบางอย่างของผู้ป่วยและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ปัญหา
- อย่าเปลี่ยนเรื่อง ให้มุ่งการสนทนาที่ประเด็นดังกล่าวนั้น
- ยกประเด็นขึ้นมาให้ชัดเจนอีกครั้ง
- ช่วยผู้ป่วยให้ระลึกถึงประเด็นว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการคลี่คลายปัญหาของผู้ป่วยเอง
- พยาบาลพยายามแยกแยะปัญหาจากข้อมูลให้ละเอียดพึงระวังอย่าให้เบนเรื่องออกนอกทาง หรือระวังอย่ารุกเร้าจนเกินไป ถ้าหากผู้ป่วยยังไม่พร้อมให้ค่อย ๆ คุยไปเรื่อย ๆ และบันทึกเรื่องประเด็นสำคัญเหล่านี้ไว้ เพื่อจะได้สืบค้นไปเรื่อย ๆ

บรรณานุกรม

ทัศนา บุญทอง. (2544). ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาลจิตเวช. เอกสารการสอนชุดวิชากรณี
เลือกสรรการพยาบาลมารดาทารก และการพยาบาลจิตเวช หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว.(2544).แนวคิดพื้นฐานทางการพยาบาลจิตเวช.. พิมพ์ครั้งที่ 3. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณ.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2545).การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Barbara,SJ. (1995).Psychiatrric mental healthnursing.New york:J.B Lippincott .
Beck, C.K., Rawlins, R.P., and Willians, S.R. (1988).Mental Health Psychiatric Nursing : A Holistic Life Cycle. Approach. ST. Louis : The C.V. Mosby Co.
Pepleu, H. (1962). Interpersonal relations in nursing : a conceptual frame of reference for
psychodynamic nursing. New york : G.P. Putnam’s Sons.
Stuart, G. and Sundeen, S. (1995). Principles and practice of psychiatric nursing. St. Louis :
The C.V. Mosby.
Travelvee, J. (1966). Interpersonal aspects of nursing. Pheldelphia : F.A. Davis.

2 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีฉัน aM clinton nancy หลังจากที่ได้มีความสัมพันธ์กับแอนเดอร์สันมานานหลายปีแล้วเขาเลิกกับฉันฉันทำทุกอย่างเพื่อให้เขากลับมาได้ แต่ทั้งหมดก็ไร้ผลฉันต้องการให้เขากลับมามากเพราะความรักที่ฉันมีต่อเขา, ฉันขอร้องเขาด้วยทุกสิ่งทุกอย่างฉันทำสัญญา แต่เขาปฏิเสธ ฉันอธิบายปัญหาของฉันกับเพื่อนของฉันและเธอบอกว่าฉันควรจะติดต่อล้อสะกดที่สามารถช่วยฉันโยนคาถาเพื่อนำเขากลับมา แต่ฉันเป็นประเภทที่ไม่เคยเชื่อในการสะกดฉันไม่มีทางเลือกกว่าที่จะลองฉัน ส่งคาถลลวงและเขาบอกผมว่าไม่มีปัญหาใด ๆ ที่ทุกอย่างจะเรียบร้อยก่อนสามวันที่อดีตของฉันจะกลับมาหาฉันก่อนสามวันเขาได้ให้การสะกดและในวันที่สองก็แปลกใจคือประมาณ 4 โมงเย็น อดีตของฉันเรียกฉันว่าฉันประหลาดใจมากฉันตอบสายและสิ่งที่เขาพูดก็คือเขาเสียใจมากสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการให้ฉันกลับไปเขาว่าเขารักฉันมาก ฉันมีความสุขมาก ๆ และไปหาเขานั่นคือสิ่งที่เราเริ่มใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาฉันได้สัญญาว่าใครที่ฉันรู้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันก็จะช่วยคนดังกล่าวโดยการแนะนำให้เขาเป็นครูผู้ชำเถียงในการสะกดเฉพาะที่แท้จริงและทรงพลังที่ช่วยฉันด้วยปัญหาของตัวเอง อีเมล์: drogunduspellcaster@gmail.com คุณสามารถส่งอีเมลถึงเขาได้หากคุณต้องการความช่วยเหลือในความสัมพันธ์หรือกรณีอื่น ๆ

    1) รักคาถา
    2) Lost Love Spells
    3) การหย่าร้าง
    4) เวทมนตร์สมรส
    5) มัดสะกด
    6) คาถา Breakup
    7) ขับไล่คนที่ผ่านมา
    8. ) คุณต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่งในการสะกดของสำนักงาน / สลากกินแบ่งของคุณ
    9) ต้องการที่จะตอบสนองความรักของคุณ
    ติดต่อคนที่ยิ่งใหญ่นี้หากคุณมีปัญหาใด ๆ สำหรับโซลูชันที่ยั่งยืน
    ผ่าน DR ODOGBO34@GMAIL.COM

    ตอบลบ
  2. ฉันต้องการบอกให้โลกรู้อย่างรวดเร็วว่ามีลูกล้อคาถาออนไลน์ที่ทรงพลังและเป็นของแท้มากชื่อของเขาคือดร. edede เขาช่วยให้ฉันรวมตัวกับความสัมพันธ์ของฉันกับ hubby ที่ทิ้งฉันเมื่อไม่นานมานี้เมื่อฉันติดต่อดร. edede เขาได้สะกดความรักให้ฉันและ hubby ของฉันก็โทรหาฉันหลังจากผ่านไป 2 วันและเริ่มขอร้องให้ฉันกลับมาในชีวิต ... เรากลับมาแล้วในตอนนี้ด้วยความรักและการเอาใจใส่มากมาย วันนี้ฉันดีใจที่จะให้คุณทุกคนรู้ว่าลูกล้อสะกดนี้มีอำนาจในการคืนค่าความสัมพันธ์ที่หักกลับมาเพราะตอนนี้ฉันมีความสุขกับ hubby ของฉัน ... หากมีใครออกมีที่อ่านบทความนี้และต้องการความช่วยเหลือใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาด้านล่างนี้ยังสามารถติดต่อดร. edede เพื่อขอความช่วยเหลือในปัญหาดังต่อไปนี้: (1) การรักษาโรคทุกประเภท (2) คดีในศาล (3) คาถาการตั้งครรภ์ (4) การป้องกันทางจิตวิญญาณ (5) การรักษาโรคมะเร็ง (6) สำหรับโรคเริม (7) รักษาโรคเอดส์และอื่น ๆ อีกมากมาย ... คุณสามารถติดต่อเขาทางอีเมลของเขา: ededetemple@gmail.com หรือโทร / WhatsApp ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเขาที่ +38972751056

    ตอบลบ