31/1/53

โรคจิต - โรคประสาท



โรคจิต - โรคประสาท 
ดร.ศิริรัตน์ จำปีเรือง
            โรคที่มีความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ และการแสดงออกอย่างรุนแรง โดยผู้ป่วยมักจะไม่ยอมรับว่าตนเองป่วย ภาษาชาวบ้าน ผู้ป่วยโรคจิต ก็คือ คนบ้า หรือ คนวิกลจริต นั่นเอง
            อาการของโรคจิต
โดยทั่วไปพบความผิดปกติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ความผิดปกติด้านความคิด เข่น หลงผิด คิดว่าตนเองเป็นใหญ่เป็นโต เป็นผู้วิเศษ ระแวงว่ามีคนปองร้าย 2. ความผิดปกติด้านอารมณ์ เช่น หัวเราะ ร้องไห้ โดยไม่สมเหตุผล หรือเฉยเมย ไม่สนใจใคร 3. ความผิดปกติด้านการแสดงออก เช่น ไม่สนใจตนเอง ปล่อยให้เนื้อตัวสกปรก คลุ้มคลั่ง อาละวาด ทำร้ายคน ทำลายของ พูดคนเดียว อยู่นิ่งไม่ได้ ไม่นอน วุ่นวาย รบกวนคนอื่น 4. ความผิดปกติด้านการับรู้ เช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงคน สัตว์ หรือเสียงแปลกๆ โดยไม่มีตัวตน เห็นภาพหลอนเป็นคน สัตว์ ผี เป็นต้น
          สาเหตุของโรคจิต
1. เกิดจากความผิดปกติของสมองและร่างกาย เนื่องจาก
- ได้รับสารพิษของสิ่งเสพติด เช่น เหล้า กัญชา ยาบ้า กระท่อม กาว ผงขาว ฯลฯ - ได้รับเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสมอง เช่น มาเลเรียขึ้นสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ - ศีรษะได้รับอันตราย เช่น ถูกตีที่ศีรษะ รถคว่ำ ศีรษะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง - กรรมพันธุ์
2. ได้รับความกดดันทางด้านจิตใจและสังคม เช่น ผิดหวังเรื่องการเรียน ความรัก การสูญเสียคนที่ตนรัก ตำแหน่งหน้าที่การงาน เงินทอง ชื่อเสียง มีปัญหาในครอบครัว ตกงาน
        สิ่งกระตุ้นให้อาการโรคจิตกำเริบ
1. กินยาหรือฉีดยาไม่สม่ำเสมอ ขาดยา 2. ได้รับความกดดันทางด้านจิตใจและสังคม เช่น ผิดหวังเรื่องการเรียน ความรัก มีปัญหาครอบครัว มีปัญหาการงาน ถูกทอดทิ้ง 3. ใช้สารเสพติด เช่น การดื่มสุรา สูบกัญชา กินยาบ้า 4. การอดนอน การเจ็บป่วยทางกาย
การรักษาโรคจิต
       โรคจิตสามารถรักษาได้โดย
1. ใช้ยารักษาโรคจิต มีทั้งชนิดกันและฉีด และในรายที่เป็นเรื้อรังต้องกินยาเป็นระยะเวลานานหลายปี และเมื่อเห็นว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว ไม่ควรหยุดยาเองเพราะจะทำให้อาการกำเริบรุนแรงได้2. รักษาด้วยไฟฟ้า 3. การพูดคุยให้ผู้ป่วยสบายใจ คลายทุกข์
ผลข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
ภายหลังจากกินยาหรือฉีดยาโรคจิตแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการ
1. ปากแห้ง คอแห้ง ซึ่งช่วยได้ โดยให้ผู้ป่วยดื่มน้ำบ่อยๆ2. ตาพร่า ง่วงนอน อาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย ถ้าใช้ยาไป 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะค่อยๆ ปรับตัวได้เอง3. คอบิด ตาค้าง ตัวแข็ง มือสั่น น้ำลายยืด ลิ้นแข็ง เป็นอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์
        การดูแลผู้ป่วยโรคจิต
1. ผู้ป่วยหรือญาคิควรมาติดต่อรับยาที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ ญาติควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มยา ลดยา หรือหยุดยา ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมกินยา ญาติควรชักจูโน้มน้าวให้ผู้ป่วยกินยา ถ้าไม่ได้ผล ให้ญาติมาปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจให้ฉีดยาหรือการรักษาแบบอื่นแทน
2. ไม่ควรให้ผู้ป่วยใช้สิ่งเสพติดทุกชนิด เช่น เหล้า เบียร์ กัญชา ยาบ้า ผงขาว ฯลฯ เพราะอาจทำให้อาการของโรคจิตกำเริบได้
3. ญาติควรกระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วย ให้ทำงานตามกำลังและความสามารถที่มีอยู่ เพื่อฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยให้ดีเหมือนเดิม ไม่ควรให้ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ หรือมีเวลาว่างมากเกินไป เพราะจำทำให้ผู้ป่วยเฉื่อยชา เกียจครัาน ซึ่งจะเป็นภาระของญาติในการดูแลผู้ป่วยอย่างมากในอนาคต
4. ควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยเหมือนคนปกติ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุย ระบายปัญหา และร่วมกิจกรรมต่างๆ กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยแลญาติเกิดความเข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
5. สนับสนุนแลให้กำลังใจผู้ป่วย ให้สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยการรับฟังปัยหาของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ และให้คำปรึกษา-แนะนำ
6. ไม่พูดจายั่วยุให้ผู้ป่วยอารมณ์หงุดหงิด เช่น พูดเสียงดัง ตะคอก ล้อเลียน ตำหนิอย่างรุนแรง และไม่ควรย้ำอาการเจ็บป่วยบ่อยเกินไป
7. อุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถใช้เป็นอาวุธควรเก็บให้มิดชิด เช่น มีด ปืน ค้อน เชือก เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและญาติ
8. ให้ผู้ป่วยได้มีอโอกาสเข้าสังคมกับคนทั่วไป เพื่อผู้ป่วยจะได้ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ไม่ควรให้ผู้ป่วยแยกตัวหรือเกํบตัวอยู่คนเดียว
9. หมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วย ถ้าเห็นผู้ป่วยเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด หูแว่ว พูดคนเดียว ให้รีบพามาพบแพทย์

ปัญหาที่พบบ่อยในการดูแลผู้ป่วยโรคจิต

  • ผู้ป่วยไม่ยอมกินยา

       วิธีการดูแลผู้ป่วย
1. ถามถึงสาเหตุของการไม่กินยา2. พูดบอกถึงผลดีของยาที่มีต่อผู้ป่วย ด้วยเสียมี่เป็นมิตรนุ่มนวล3. จัดยาให้ตามจำนวนเม็ดและเวลาตามแพทย์สั่ง โดยดูแลให้พร้อมน้ำดื่มจนผู้ป่วยกลืนยาเรียบร้อยแล้ว4. ถ้าผู้ป่วยังไม่ยอมกินยา ให้ขอร้องแกมบังคับด้วยบุคคลที่ผู้ป่วยเชื่อถือและไว้ใจ5. ถ้าผู้ป่วยยังไม่ยอมกินยาจริงๆ ให้คลุกยาลงในอาการ พร้อมทั้งดูแลให้ผู้ป่วยกินอาหารและยาจนเสร็จ6. เมื่อผู้ป่วยไม่ยอมกินยา ให้นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมมา ให้ญาติมาปรึกษาแพทย์แทน
ผู้ป่วยมีอาการ ซึมเฉย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
       วิธีการดูแลผู้ป่วย
1. เรียกชื่อ ทักทาย หรือชวนพูดคุยด้วยตามปกติ2. บอกหรือช่วยให้อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เปลี่ยนเสื้อผ้า3. ถ้าผู้ป่วยทำได้เอง ญาติควรให้กำลังใจโดยการกล่าวชมเชย4. จัดหา หรือชักชวนให้รับประทานอาการและยา ตามเวลาและขนาดที่แพทย์สั่ง และพามาพบแพทย์ตามนัด5. ให้ช่วยทำงานบ้าน งานอาชีพ ตามความสามารถ6. ให้ร่วมสังสรรค์กับคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน และพาไปร่วมงานในชุมชน เช่น งานประจำปี งานศพ งานแต่งงาน

  • ผู้ป่วยมีอาการหวาดกลัว วุ่นวาย ทำลายของ

      วิธีการดูแลผู้ป่วย
1. ตั้งสติ ไม่โกรธ ไม่ตื่นกลัว ไม่ยั่วยุ หรือตอบโต้2. เรียกชื่อ บอกผู้ป่วยให้หยุดพฤติกรรมนั้นด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล3. ระวัง และตรวจดูสิ่งของที่อาจใช้เป็นอาวุธ เช่น ปืน มีด เชือก เก็บซ่อนของอันตรายให้มิดชิด4. ขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่จะควบคุมผู้ป่วยได้ เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น5. เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการได้ ควรพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

  • การดำรงชีวิตประจำวัน

      วิธีการดูแลผู้ป่วย
1. กระตุ้นให้อาบน้ำ แต่งตัว ซักเสื้อผ้าเอง หากจำเป็นควรช่วยเหลือ แต่พยายามให้ผู้ป่วยทำด้วยตนเองให้มากที่สุด2. ให้ช่วยงานบ้านง่ายๆ ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ กวาดบ้านถูกบ้าน รดน้ำต้นไม้ ล้างถ้วยชาม เป็นต้น3. ให้โอกาสผู้ป่วยได้ต้อนรับ และสนทนากับผู้ที่มาเยี่ยมเยียน4. ให้คำชมเชย ให้กำลังใจ เมื่อผู้ป่วยดูแลตนเองหรือช่วยงานบ้านได้

  • การประกอบอาชีพ

      วิธีการดูแลผู้ป่วย
1.ให้ประกอบอาชีพที่เคยทำอยู่แล้ว เช่น ทำนา ทำไร่ ค้าขาย รับจ้าง เลี้ยงสัตว์ ตามความสามารถของผู้ป่วย2. ให้ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ผู้ป่วยชอบ และสามารถทำได้3. ขอความช่วยเหลือ เพื่อทำบัตรสงเคราะห์ผู้พิการ จากประชาสงเคราะห์จังหวัด

           การรักษาโรคจิตโดยทั่วไป จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา ซึ่งอาจจะเป็นยากินหรือยาฉีด ระยะเวลาที่ต้องได้รับยานั้น ส่วนมากต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 3 - 6 เดือน หลังจากนั้นการพิจารณาให้ยาต่อหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งบางรายอาจหยุดยาได้ แต่บางรายอาจต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่องไปอีกเป็นระยะเวลานาน และอาจต้องมีการปรับเพิ่ม หรือลดขนาดของยาที่ได้รับตามระดับของอาการ ผู้ป่วยส่วนน้อยที่ต้องได้รับยาในขนาดที่สูงอย่างต่อเนื่องไปตลอด เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีก ดังนั้น การที่จะทราบว่าควรจะรับยาจำนวนมากน้อยเพียงใดหรือนานเท่าไรนั้น ควรขอคำแนะนำปรึกษาจากแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการทางการแพทย์ จะช่วยลดข้อสงสัยทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้น
         วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคจิต
โรคจิตสามารถป้องกันได้ โดยเริ่มต้นจากครอบครัว พ่อแม่ต้องให้ความรัก ความ อบอุ่นและให้ความมั่นคงทางจิตใจแก่เด็ก ให้เด็กรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง ดังนั้นถ้าเด็กมีปัญหาตึงเครียดไม่สบายใจ พ่อแม่ควรประคับ ประคองจิตใจเด็ก พยายามให้เด็กได้ระบายปัญหา อย่าให้เด็กเก็บกดปัญหาคนเดียว ซึ่งจะนำไปสู่อาการของโรคจิตได้ทางการแพทย์พบว่าคนเป็นโรคจิต มีสารเคมีชื่อ Dopamine ในสมองที่สูงผิดปกติ การรักษาจึงเป็นการใช้ยาปรับสมดุลในสมอง ซึ่งถ้าไม่รักษาปล่อยให้สารตัวนี้สูงผิดปกติไปนานๆ สิ่งที่ตามมาคือการทำลายเนื้อสมองถาวร และ ผู้ป่วยจะไม่กลับคืนปกติ ดังเช่นที่เห็นในผู้ป่วยบางรายที่ญาติคิดว่าผีเข้า ไม่พามารักษา ไปรักษาหมอผี หมดเงินเป็นแสน กว่าจะมาพบแพทย์ก็สายเกิน ไม่สามารถเหมือนเดิมได้ หรือคนที่ใช้สารเสพติดนานๆ สมองถูกทำลายไปมาก ก็ไม่สามารถกลับปกติได้ ส่วนใหญ่หมอจะไม่หักล้างความเชื่อ แต่ถ้าญาติอยากรักษาทางไสยศาสตร์ ก็จะขอร้องให้รักษาทางยาด้วย เนื่องจากถ้าปล่อยไป เราก็จะเห็นคนที่เป็นโรคจิตที่รักษายากเกินเยียวยาเต็มท้องถนน

โรคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกสบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแบบ

[แก้] ลักษณะสำคัญของโรคประสาท
1. เกิดขึ้นฉับพลัน มักทราบว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น การตาย ฯลฯ
2. เป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร
3. บุคลิกภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
4. อยู่ในสภาพของความเป็นจริงและคงสภาพตัวเองได้
5. รู้ตัวว่าไม่สบาย กังวลผิดปกติ ตามลักษณะอาการ

ประเภทของโรคประสาท ตามลักษณะอาการ
1. ชนิดวิตกกังวล มีอารการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ หวาดหวั่นไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบ ๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้า ก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว
2. ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวลได้เปลี่ยนเป็นอาการทางกายที่เกี่ยวกับระบบความรู้สึกหรือส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ ตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ลักษณะสำคัญ คือ มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียมาก่อน เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอาการที่เกิดขึ้น มีความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องความสามารถจากคนอื่นหรือมีผลตอบแทนที่เกิดจากการที่เกิดขึ้นและมีลักษณะชักจูงง่าย
3. ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ อาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์ สิ่งที่กลัวมักได้แก่ กลัวการอยู่ตามลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุ กลัวกิจกรรม
4. ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้
5. ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก ฯลฯ
6. ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ
7. ชนิดบุคลิกภาพแตกแยก จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ฯลฯ
8.ชนิดฮัยโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป

3 ความคิดเห็น:

  1. อยากรู้สถิติซึมเศร้าปัจจุบัน

    ตอบลบ
  2. โห้โรคประสาทกับโรคจิตนิแคกต่างกันนิดเดียวเองน่ะเนี้ยะ

    ตอบลบ